การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (Education Technology)
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | การศึกษา | นักศึกษา | มหาวิทยาลัย | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | Utopia | EDTech | KMED | คำสำคัญ (Key)
แผนภาพขั้นตอน : กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ขั้นตอนการขอรับทุนโครงการ/กิจกรรม เพื่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มี 10 ขั้นตอน ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดตามคู่มือผู้รับทุน ที่มีเนื้อหา 125 หน้า
องทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 มาตรา 23 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ผ่านมากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป ยื่นขอรับการส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ และอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาในการดำเนินการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยหลักเกณฑ์การยื่นข้อเสนอโครงการต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อผู้มีสิทธิขอรับทุนได้ยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรเงินจาก กองทุนตามระยะเวลาที่กำหนด โครงการที่ยื่นขอรับการจัดสรรทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
คู่มือผู้รับทุน
แผนปฏิบัติการระยะยาว (พ.ศ. 2564 – 2566) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ความเป็นมา EDTech Fund (กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา)
องทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งขึ้นตาม มาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดว่า “ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน…” ทั้งนี้เพื่อรองรับการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่เน้นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการศึกษา โดยมุ่งหวังให้กองทุนเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพทั่วประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและภายนอก
ระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้ง กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 โดยมีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2553 ต่อมามีการปรับปรุงเป็นระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 1 เมษายน 2558 เพื่อรองรับการดำเนินงานของกองทุน และบริหารกองทุนโดยคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน คือ เป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุน การผลิต การวิจัย การพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง สำนักงานเลขานุการกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (สกท.) เป็นหน่วยงานภายในระดับสำนัก สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553 เพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการกองทุนและเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการเงิน การบัญชี และการพัสดุ พ.ศ.2563
แบบเสนอโครงการ และคู่มือกองทุนฯ
แหล่งทุนสำหรับครูยุคใหม่ - กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDTech Fund)
องทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจัดตั้งขึ้นตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต การวิจัย และพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ โดย กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต การวิจัย การพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
องทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDTech Fund) มีประกาศเรื่อง การเปิดรับโครงการขอรับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อย่างต่อเนื่อง พ.ศ.2563 # พ.ศ.2564 # พ.ศ.2565 # แล้วพบเอกสารเผยแพร่ในรูปของ แผ่นพับ # # ที่บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร รวมถึงมีรายชื่อผลงานและลิขสิทธิ์ของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาถึง 15 เรื่อง แล้วพบ แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563 - 2565 # และ แผนปฏิบัติการ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 -2565
คู่มือกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (กันยายน 2562)
แหล่งทุนสำหรับครูยุคใหม่ (EDTech Fund)
ยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา าม แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563 - 2565 # ที่ใช้กำหนดทิศทางการทำงานของกองทุน มีทั้งหมด 4 แผนยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาการบริหารจัดการให้ก้าวสู่การเป็นหน่วยงานดิจิทัล
ทุนสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สนับสนุน 2 โครงการ ๆ ละไม่เกิน 400,000 บาท
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สนับสนุน 3 โครงการ ๆ ละไม่เกิน 400,000 บาท
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สนับสนุน 3 โครงการ ๆ ละไม่เกิน 400,000 บาท
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สนับสนุน 2 โครงการ ๆ ละไม่เกิน 400,000 บาท
รวมทุกโครงการไม่เกิน 4,000,000 บาท
ผลงานและลิขสิทธิ์ของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบ ผลงานและลิขสิทธิ์ของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในแผ่นพับ และ โครงการที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้
1. โครงการระบบบริหารจัดการเรียนรู้และเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ผ่านโมบาย
วงเงิน : 231,540 บาท
2. โครงการคลังข้อสอบและห้องสอบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์
วงเงิน : 1,498,380 บาท
3. โครงการนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ร่วมกับแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ
วงเงิน : 592,600 บาท
4. โครงการพัฒนากลยุทธ์การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะโดยใช้สถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปความรู้ในการสอนจำเพาะเนื้อหาโดยใช้เทคโนโลยีสถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และการปรับเปลี่ยนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
วงเงิน : 330,100 บาท
5. โครงการพัฒนาชุดหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมการศึกษา STEM แบบบูรณาการ
วงเงิน : 1,043,600 บาท
6. โครงการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (หมวดภูมิศาสตร์) สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
วงเงิน : 271,400 บาท
7. โครงการพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดสื่อการเรียนรู้และเครื่องวัดไฟฟ้าบนอุปกรณ์พกพาที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อใช้ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
วงเงิน : 407,700 บาท
8. โครงการเปลี่ยนรูปแบบของความรู้ภายในกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้การบูรณาการระหว่างการสอน เพื่อปรับเปลี่ยนมโนมติผ่านสถานการณ์จำลองบนคอมพิวเตอร์ ร่วมกับกลวิธีการจัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์และนักเรียน
9. โครงการการศึกษาผลการเรียนรู้ในความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากโปรแกรมแบบทดสอบและเยียวยาข้อบกพร่อง การเรียนรู้แบบออนไลน์
10. โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ชุดสรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ในร่างกายแบบบูรณาการสำหรับผู้เรียนหลักสูตร ในกลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์ชั้นปรีคลินิกของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
11. โครงการศึกษาวิจัยการพัฒนาสมรรถนะของครูไทย ด้วยรูปแบบ EIS & ICT - OJT Ditital Technology เพื่อเตรียมพร้อมคนไทยสู่ประชาคมโลก
12. โครงการการพัฒนาโรงเรียน ชุมชน ยุคใหม่ ผ่านระบบเครือข่าย
13. โครงการพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลทางการศึกษาด้วยหลักการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และโอเพ่นโฟว์ (Open Flow)
14. โครงการพัฒนาระบบการเรียนรู้ทางการแพทย์ผ่านระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
15. โครงการพัฒนาเครื่องมือทดสอบวินิจฉัยอัจฉริยภาพด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
16. โครงการการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงแบบจำลองจินตวิศวกรรมสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะ
17. โครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู และผู้บริหารสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
rspsocial
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ = 251 มิลลิวินาที สูง = 1773 จุด กว้าง = 1264 จุด
Thaiall.com